วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

  



1.ความสะดวกในการเก็บข้อมูลสามารถเก็บไว้ได้มากเเละปลอดภัยสามารถส่งข้อมูลได้ถึง200หน้า
2.ความถูกต้องของข้อมูลสามารถ จะมีการตรวจสอบข้อมูลก่อนถ้าเกิดความผิดพลาดจะมีการรรับรเละเเก้ไขใหม่
3.ความเร็วของการทำงาน สัญญานไฟฟ้าจะเร็วเท่าความเร็วเเสงจึงทำให้การส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกีกโลกหนึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
4.ประหยัดต้นทุนในการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย เพื่อส่งข้อมูลราคาต้นทุนจึงไม่สูงนัก เมื่อเทยบกับการส่งวิธีอื่น
5.สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง สามารถมีข้อมูลที่ส่วนกลางเพียงชุดเดียว เวลาเกิดการเปลี่ยนเเปลงสามารถเปลี่ยนเเปลงที่ส่วนกลาง
6.การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครื่อข่ายนั้นจะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์เดียวกันได้ จึงทำให้ประหยัดทั้งงบประมาณ เเละทรัพยากร
7.การทำงานเป็นกลุ่ม สามารถใช้ประโยขน์ของระบบเเผนกเดียวกันได้เป็นอย่างดี  เช่น สามารถร่วมเเก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามเเผนงาน
      
http://www.google.co.th/imgres?hl=th&biw=1024&bih=643&tbm=isch&tbnid=Q3ZO9-LLNDzadM:&imgrefurl=http://www.learners.in.th/blogs/posts/374654&docid=bjFmfsQ0fHOxCM&imgurl=http://learner

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์



               
 การสื่อสารข้อมูลจะต้องใช้เทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลและเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ด้วยกันเพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้  เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลแบ่งออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ๆ คือ  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสายและเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
                1.1 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลทางสาย
การสื่อสารข้อมูลทางสายเป็นการติดต่อสื่อสารผ่านสายต่างๆ เช่น  สายโทรศัพท์  สายเคเบิล  ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  6  ประการ  คือ
                1) เทคโนโลยีโมเด็ม  คำว่า  โมเด็ม  (Modem)  หมายถึง  การแปลง  และการแปลงกลับ  โมเด็มจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอะนาล็อก  และแปลงสัญญาณอะนาล็อกกลับมาเป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
                2) เทคโนโลยีไอเอสดีเอ็น  เป็นเทคโนโลยีรับส่งข้อมูลความเร็วสูงกว่าโมเด็ม  ใช้ระบบดิจิตอลตลอดเส้นทางการสื่อสาร  บริการด้วยความเร็วสามระดับ  คือ
                1. ความเร็ว 64-128  กิโลบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับใช้ตามบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็ก
                2. ความเร็ว  2  เมกะบิตต่อวินาที  เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการความเร็วสูง
                3. บริการบรอดแบรนด์ความเร็วตั้งแต่  2  เมกะบิตขึ้นไป  ใช้กับสายเคเบิลใยแก้วนำแสง
                3) เทคโนโลยีดีเอสแอล  เป็นเทคโนโลยีท่อยู่ในกลุ่ม  xDSL  เช่น  ADSL,  HDSL  ลักษณะเด่นนี้คือ  สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง  ความเร็วสูง  เวลาใช้อินเตอร์เน็ตยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้เพราะชุมสายดีเอสแอลจะมี สลิตเตอร์ (slitter)  ทำหน้าที่แยกสัญญาณ ระหว่างสายโทรศัพท์กับอุปกรณ์ดีเอสแอล
                4)  เทคโนโลยีความเร็วสูงเอสดีเอช  ใช้ใยแก้วนำแสงเป็นระบบสื่อสัญญาณ  ความเร็วขั้นต่ำ  155  เมกะบิตต่อวินาที  ความเร็วสูงสุดมากถึง  2.  กิกะไบต์ต่อวินาที  มีข้อจำกัดที่ต้นทุนสูงมาก  การดูแลรักษายาก  ประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้เฉพาะเส้นทางหลักของโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ
                5) เทคโนโลยีเคเบิลโมเด็ม  (cable  modem)  หมายถึง  อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงของผู้บริการเคเบิลทีวี  โดยใช้ใยแก้วนำแสงและสายเคเบิลต่อเชื่อมมายังผู้ใช้  และใช้เคเบิลโมเด็มต่อมายังคอมพิวเตอร์
                6) คู่สายเช่า-วงจรเช่า (leased  line)  หมายถึง  สายโทรศัพท์หรือวงจรที่ให้เช่าเพื่อใช้งานด้านการรับส่งข้อมูล  เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีสาขาอยู่หลายๆ แห่ง

                1.2 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สาย
ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมมาก  เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลไร้สายแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ
                1) เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่  เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียง  (voice)  และข้อความ (content)  โทรศัพท์เคลื่อนที่ปัจจุบันที่นิยมคือระบบ  GSM  ย่อมาจาก  Global  System  for  Mobile  ให้ความเร็วไม่เกิน  9600  บิตต่อวินาที ระบบจีพีอาร์เอส  (General  Packet  Radio  Service-GPRS)  และระบบเอ็ดจ  (Enhanced  rates  for  GSM  Evolution-EDGE) ให้ความเร็ว 32  กิโลบิตต่อวินาที
                2) เทคโนโลยีดาวเทียมระบบดีบีเอส  ย่อมาจากคำว่า  Direct  Broadcast  Satellite  (DBS) เป็นระบบที่แพร่สัญญาณโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมด้วยความถี่สูงย่านไมโครเวฟไปยังสมาชิกโดยตรง  โดยใช้จานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  60  ซม.เป็นตัวรับสัญญาณ

2. สื่อสัญญาณ
                สื่อสัญญาณ  หมายถึง  อุปกรณ์ในโรงข่ายโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง  แบ่งออกเป็น  2 ประเภทตามลักษณะของการสื่อสาร  คือ
                2.1 สื่อสัญญาณทางสาย  แบ่งออกเป็น  3  แบบ  คือ
                1) สายบิตเกลียวคู่  (twisted-pair  line เป็นสายทองแดงลักษณะบิตเกลียวทำด้วยทองแดงใช้ได้นานและราคาไม่แพง  นิยมใช้เป็นสายโทรศัพท์ตามบ้านทั่วไป  ความเร็วสูงสุด  128  เมกะบิตต่อวินาที
                2)  สายโคเอเชียน  (coaxial  cable)  เป็นสายทองแดงที่มีฉนวนหุ้ม  และมีสายชิลต์ที่เป็นโลหะป้องกันสัญญาณรบกวนและมีฉนวนหุ้มภายนอกอีกชั้น  นิยมส่งสัญญาณโทรทัศน์  ความเร็วสูงสุด  200  เมกะบิตต่อวินาที
                3)  สายใยแก้วนำแสง  (Fiber-optic)  เป็นสายใยแก้วหรือพลาสติกบาง ๆ ขนาดเท่าเส้นผมหลายคู่รวมกัน  สัญญาณจึงไม่ถูกรบกวน  จึงรับส่งข้อมูลได้แม่นยำ  ส่งข้อมูลได้มากถึง  2  กิกะบิตต่อวินาที
                2.2  สื่อสัญญาณไร้สาย    แบ่งเป็น  5  ประเภท  คือ
                1)  อินฟาเรด  (infrared)  ใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์  รับส่งข้อมูลได้  1-4  เมกะบิตต่อวินาที  ในระยะทางสั้นๆ  2-3 เมตร
                2) คลื่นวิทยุ  (radio  wave)  เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ  สามารถเดินทางไปในอากาศได้ไกลๆ โดยไม่ต้องใช้สายสัญญาณ เช่น  คลื่นวิทยุเอเอ็ม  เอฟเอ็ม  และอื่นๆ
                3) คลื่นไมโครเวฟ (radio  microwave)  เป็นคลื่นวิทยุที่มีความถี่สูงเรียกว่า  ย่านไมโครเวฟ  เดินทางเป็นเส้นตรง  ไม่สามารถผ่าสิ่งกีดขวางได้  การรับส่งสัญญาณต้องใช้จานรับสัญญาณไมโครเวฟ  รัศมีการรับส่งประมาณ  50  กม. หากต้องการส่งไกลๆ จะต้องใช้สถานีทวนสัญญาณส่งเป็นทอดๆ
                4) ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียม  (Satellize) ใช้ย่านความถี่เดียวกับไมโครเวฟ  โดยส่งสัญญาณจากสถานีส่งขึ้นไปยังดาวเทียมบน
      

โปรโตคอลเเละอุปกรณ์สื่อสารเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์

          


การสือสารโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เเละอุปกรณ์การสื่อสารอื่นๆ ซึ่งไมาสามารถเชื่อมต่อโดยตรงได้ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณืเเละมาตราฐานในการสื่อสาร
1.โพรโทคอล(protocol)คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์เพื่อให้มีมาตราฐานตรงกัน
1.1โพรโทคอลเอชทีพี(Hyper Text Transfer Protocol:HTTP)เป็นโพรโตคอลหลักการในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็ป โดยทฃมีจุดประสงคืเพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยเเพร่เเละเเลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มเเอล
2.โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี(Transfer Control Protocol/Tnternet Protocol:TCP)เป้นโพรโตคอลในระบบอินเทอร์เน็ต โดยจะระบุผู้รับผู้ส่ง เเละถ้าเกิดการผิดพลาดก็จะส่งการร้องขอข้อมูลใหม่
3.โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี(Simple Mail Transfer Protocol:SMTP)คือโพรโทคอลสำรับส่งอีเมล์
(e-mail)
4.บลูทูท(bluetooth)โพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุ2.4GHzในการรับข้อมูลคล้ายกับระบบเเลนไร้สาย
5.อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5.1เครื่องทวนสัญญาน
5.2ฮับ
5.3บริดจ์
5.4อุปกรณ์จัดเส้นทาง
5.5สวิตซ์
  
ขอบคุณhttps://www.google.co.th/search?q=โปรโตคอลเเละอุปกรณ์สื่อสารเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์&hl=th&prmd=imvns&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ei=fXTcT98Cx-GsB5a9gMQN&
หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารม.2

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


    

                   
  การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้
     





การสื่อสารข้อมูล


การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ 
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้  
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ 
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้  
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ  ข้อมูล และเสียงเป็นต้น  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร  จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 
2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด 
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง 
3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น              
4. การเข้ารหัส  (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้              
5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน             
 6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ    
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  เป็นต้น 
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า 
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)  
องค์ประกอบพื้นฐาน 
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit) 
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel) 
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย 
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล 
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว 
เพื่อลดเวลาการทำงาน 
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร 
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ 
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
     
ขอบคุณ หนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศ เเละการสื่อสารม.2


เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

 ยุค1G เริ่มตั้งแต่ 1G ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้นไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G 
                   

ยุค2G  เป็นการเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัสดิจิตอลส่งทางคลื่น ไมโครเวฟซึ่งในยุคนี้เอง  เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว ในยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site
และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming
                  

ยุค3G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
          

ยุค4G เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายความเร็วสูง 4G หรือ เทคโนโลยี Long Term Evolution (LTE) เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยลดข้อจำกัดของการรับส่งข้อมูลด้วยเทคโนโลยี GSM/ GPRS/ EDGE ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ให้เพิ่มความ สามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 100 Mbps และจะช่วยลดความล่าช้าในการรับส่งข้อมูลโดยรวม (Latency) ลงอย่างมาก
        
อบคุณhttp://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20080823193338AA6ovRH
https://www.google.co.th/searchq=+1g&hl=th&prmd=imvns&source=lnms&tbm=isch&ei=sszVT63MMo2hiAeBrqyYAw&sa=X&oi=mode_link&ct=mod
http://www.google.co.th/imgresstart=68&num=10&hl=th&biw=1024&bih=643&tbm=isch&tbnid=34Uv879k9ye5NM:&imgrefurl=http://market.onlineoops.com/28790&d
http://www.thaiblogonline.com/members/ittips/iphone_3g.jpg





บอร์ดเเบนด์

                


  บอรดเเบนด์คือ ระบบการสื่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบอดรเเบนดในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานตามบ้านเเล้ว ด้วยบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง(As ymmetric Digital Subscipber Line)ซึ่งทำให้การใช้บริการอินเทอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า2.0เมกะบิตต่อวินาทีเเต่ในมางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่าบอรดเเบนด์อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ256เมกะบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว256กิโลบิตต่อวินาที เป็นระดับความเร็วขั้นต่ำสุดของบรอดเเบนด์นั่นเอง
    

ขอบคุณ  หนังสือรายวิชา พื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศเเละการสื่อสารม.2
ภาพจาก
http://www.google.co.th/imgreshl=th&sa=X&biw=1024&bih=643&tbm=isch&prmd=imvns&tbnid=iOmcGxW3uk-6CM:&imgrefurl=http://www.sys2u.c