วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต


1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
          อ้างอิง http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page35.htm

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

E-leanning



E-learning คืออะไร
          คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น
          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology)ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้ 
     

ISP


ISP หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คืออะไร ISP คือ บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ซึ่งบางครั้งเรียก ISPs ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน-ผู้เขียน) ย่อมาจากคำว่า Internet Service Provider ตามหนังสือศัพท์คอมพิวเตอร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 4 ได้ระบุความหมายว่าหมายถึง "ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต" ISPเป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา กับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น แต่สำหรับ ISPประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย ข้อดีสำหรับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ก็คือ การให้บริการที่มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรองรับกับความต้องการของผู้ใช้ที่แตกต่างกัน มีทั้งรูปแบบส่วนบุคคล ซึ่งจะให้บริการกับประชาชนทั่วไปที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต และบริการในรูปแบบขององค์กร หรือบริษัท ซึ่งให้บริการกับบริษัทห้างร้าน หรือองค์กรต่าง ๆ ที่ต้องการให้พนักงานในองค์กรได้ใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ISP จะเป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปมาใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด ในการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก โดยมีหลักในการพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน เช่น ความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตว่ามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ดำเนินธุรกิจด้านนี้มากี่ปี มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน มีการขยายสาขาเพื่อให้บริการไปยังต่างจังหวัดหรือไม่ มีการลงทุนที่จะพัฒนาการให้บริการมากน้อยเพียงใด เป็นต้น ประสิทธิภาพของตัวระบบ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราจำเป็นต้องพิจารณาด้วย เช่น ความเร็วในการรับ/ส่ง สม่ำเสมอหรือไม่ (บางครั้งเร็วบางครั้งช้ามาก) สายโทรศัพท์ต้นทางหลุดบ่อยหรือไม่ หรือในบางกรณีที่เรากำลังถ่ายโอนข้อมูล มายังเครื่องคอมพิวเตอร์ปรากฏว่าใช้งานไม่ได้ การเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศ ไปที่ใดบ้างด้วยความเร็วเท่าไหร่ และการเชื่อมต่อกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเป็นอย่างไร มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย งานหลักของ ISP ISP : Internet Service Provider คือ บริษัทที่ให้บริการทางด้านอินเทอร์เน็ต เป็นเสมือนตัวแทนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ถ้าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการข้อมูลอะไรก็สามารถติดต่อผ่าน ISP ได้ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง โดยการเลือก ISP นั้น ต้องพิจารณาความเหมาะสมในการใช้งานของเราเป็นหลัก รวมถึงค่าบริการก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราต้องคำนึงถึง โดยหลักการพิจารณา ISP นั้น เราต้องดูว่า ISP มีสายสัญญาณหลักที่เร็ว หรือมีประสิทธิภาพสูงมากเพียงใด มีสมาชิกใช้บริการมากน้อยขนาดไหน เพราะปัจจัยเหล่านี้จะมีผลต่อความเร็วในการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย โดยวิธีการสมัครสมาชิกนั้น เราสามารถโทรศัพท์ติดต่อไปยัง ISP ที่ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งเราสามารถเลือกรับบริการได้ 2 วิธี คือ ซื้อชุดอินเทอร์เน็ตสำเร็จรูปตามร้านทั่วไปไปใช้ และสมัครเป็นสมาชิกรายเดือน โดยใช้วิธีการติดต่อเข้าไปยัง ISP โดยตรง ซึ่งวิธีการ และรายละเอียดในการให้บริการของแต่ละที่นั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับรูปแบบการให้บริการของ ISP รายนั้น ๆ จะกำหนด หน้าที่โดยทั่วไปของ ISP ก็อย่างที่บอกแต่แรกว่าคำว่า ISP มีหลายความหมาย หลายบทบาท ซึ่งแต่ละบทบาทนั้นความรับผิดก็จะแตกต่างกันออกไป ในที่นี้จะขอกล่าวถึงในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไป คือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เนตโดยจะรวมไปถึงบริการ Webhosting ซึ่งหมายถึง บริการให้เช่าพื้นที่ Website และผู้ที่ทำหน้าที่ดูแล Webboard สาธารณะ โดยอาจรวมถึง Webmaster ที่มีความรับผิดชอบโดยตรงกับข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บด้วย หน้าที่หลักๆของ ISP ก็คือ การให้บริการทางอินเทอร์เน็ต การดูแล Website การตรวจสอบข้อมูลที่จะผ่านออกไปลงในเว็บ ผู้ให้บริการ ISP มี 18 แห่งคือ 1.บริษัท ล็อกซ์เล่ย์ อินฟอร์เมชั่น เซอร์วิส จำกัด 2. บริษัท เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 3. บริษัท อินโฟ แอคเซส จำกัด 4. บริษัท สามารถ อินโฟเน็ต จำกัด 5. บริษัท เอเน็ต จำกัด 6. บริษัท ไอเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด 7. บริษัท เวิลด์เน็ต แอน เซอร์วิส จำกัด 8. บริษัท ดาตา ลายไทย จำกัด 9. บริษัท เอเชีย อินโฟเน็ต จำกัด 10. บริษัท ดิไอเดีย คอร์ปอเรชั่น ประเทศไทย จำกัด 11. บริษัท สยาม โกลบอล แอกเซส จำกัด 12. บริษัท ซีเอส คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 13. บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 14. บริษัท ชมะนันท์ เวิลด์เน็ต จำกัด 15. บริษัท ฟาร์อีสต์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 16. บริษัท อีซีเน็ต จำกัด 17. บริษัท เคเบิล วายเลส จำกัด 18. บริษัท รอยเน็ต จำกัด (มหาชน)

Blog คืออะไร

Blog คืออะไร
      Blog มาจากศัพท์คำเต็มว่า WeBlog  คือ เว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้ว Blog ยังเป็นพื้นที่ให้ Blogger โพสต์ข้อมูล หรือใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆ เช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่ และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive) โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ  ข้อแตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์ทั่วไป คือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที
      ในปัจจุบันบล็อก ถูกใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ฯลฯ และกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ได้มีผู้ให้บริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบให้บริการฟรี และเสียค่าใช้จ่าย ตัวอย่างผู้ให้บริการ Blog เช่น Bloggang, exteen หรือ BlogKa หรือต่างประเทศเช่น Blogger, Wordpress, MySpace
      บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้าน HTML หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน



           
ขอบคุณhttp://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2080-blog-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

e-mail คืออะไร


e-mail คืออะไร
          e-mail เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผ่านระบบโทรคมนาคม 
ข่าวสารหรือข้อความของ e- mail จะเป็นไฟล์ประเภทข้อความ อย่างไรก็ตามสามารถส่งไฟล์ประเภทอื่น เช่น 
ไฟล์ประเภทภาพหรือเสียง เป็นไฟล์ที่แนบไปในรหัสแบบ binary โดย e- mail เป็นสิ่งแรกที่ใช้อย่างกว้างขวาง
ในอินเตอร์เน็ตและเป็นสัดส่วนใหญ่ในการใช้ traffic บนอินเตอร์เน็ต e- mail สามารถแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้ของ online
service provider กับระบบเครือข่ายอื่น นอกจากนี้ ภายในอินเตอร์เน็ต e- mail เป็นโปรโตคอลแบบหนึ่งที่รวมอยู่ใน
 Transport Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) โปรโตคอลที่นิยมสำหรับการส่ง e- mailคือ 
Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) และโปรโตคอล 
นิยมในการรับ e- mail คือ POP3 ทั้ง Netscape และ Microsoft ได้รวม e- mail 
และส่วนประกอบการทำงานใน web browser
        

HMLคืออะไร

HTML คืออะไร
     HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application  
       HTML
 เป็นภาษาประเภท Markup   สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, Editplus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม web browser เช่น IE Microsoft Internet Explorer  (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น

       
ขอบคุณhttp://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2026-html-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html

โมเด็ม

โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ 
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท

โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ

          ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
   ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล  (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
   โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
   โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ  มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
   โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
   โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย

ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
        เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่
            1. พบปะพูดคุย
            2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
            3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
            4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
            5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
            6. ส่ง - รับโทรสาร
            7. ตอบรับโทรศัพท์

การเลือกซื้อโมเด็ม
        สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
            1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
            2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
            3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
            4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
            5. การบีบอัดข้อมูล
            6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
            7. รับ - ส่งโทรสารได้
            8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร

สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
        การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
            1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
            2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
            3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
            4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
               (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
            5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน
               โดยจะต้องถอ
ฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
      




ขอขอบคุณhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/modem.htm